วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ตอนที่ 2)



5. การกำหนดแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ
การกำหนดแหล่งเงินได้ก็คือ กฎหมายไทยกำหนดให้เก็บภาษีทุกชนิดที่มีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย ไม่ว่าจะจ่ายเงินได้ดังกล่าวในประเทศไทยหรือไม่ และไม่ว่าผู้มีเงินได้จะอยู่ในประเทศใดก็ตาม เว้นแต่จะเข้ากรณียกเว้นตามอนุสัญญาภาษีซ้อน ในกรณีที่ผู้มีเงินได้มีแหล่งเงินได้นอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการได้จากการทำงาน เงินปันผลก็ดี ขายทรัพย์สินในต่างประเทศก็ดี หรือได้รับรางวัลจากการไปแสดงงานในต่างประเทศก็ดี กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ถ้าหากมีเงินได้ในต่างประเทศและเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (กล่าวคืออาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันในปีปฏิทิน) จะต้องเสียภาษีจากเงินได้ดังกล่าวก็ต่อเมื่อมีการนำเงินได้เข้ามาในประเทศไทยในปีเดียวกับที่ต้องเสียภาษี

กรณีศึกษา:

1. ในปี 2551 ธงไชย ใจดี ได้รับเงินรางวัลจากการแข่งขันกอล์ฟในต่างประเทศ จำนวน 10,000,000 บาท ซึ่งโดยปกติธงไชยจะต้องเสียภาษีในประเทศที่ได้รับเงินได้นั้น สมมติว่าเสียในอัตรา 15% ของเงินได้ หากในปี 2551 ธงไชยอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง 180 วัน ธงไชยไม่ต้องนำเงินรางวัลนั้นมาเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยเลยไม่ว่าธงไชยจะนำเงินรางวัลเข้ามาในประเทศไทยในปีใดก็ตาม แต่หากในปี 2551 ธงไชยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป และนำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีเดียวกันนั้น ธงไชยยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศไทยอีกในอัตราก้าวหน้าสูงสุดถึง 37% ซึ่งรวมแล้วธงไชยจะต้องเสียภาษีสูงถึง 52%

แต่ในกรณีที่ประเทศที่ธงไชยได้รับเงินได้มีอายุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย ธงไชยอาจได้รับสิทธินำภาษีที่เสียในต่างประเทศนั้นนำมาหักเป็นเครดิตภาษีได้ แต่ก็นับว่าภาระภาษีของธงไชยจากเงินรางวัลยังคงสูงอยู่ ดังนั้น ในกรณีนี้ธงไชยจึงไม่ควรนำเงินรางวัลที่ได้รับนั้นเข้ามาในประเทศไทยในปี 2551 เพื่อที่จะได้ไม่มีภาระภาษีในประเทศไทย

2. กรณีนาย ก. ไปลงทุนในบริษัทในต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศในปี 2551 และบริษัทที่ต่างประเทศได้กำไรประกาศจ่ายเงินปันผลให้นาย ก. หากนาย ก. นำเงินปันผลเข้ามาในปี 2552 นาย ก. จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย แต่ถ้านำเข้ามาในปี 2551 นาย ก. ต้องเสียภาษี


6. เลือกเสียภาษีในอัตราต่ำสำหรับเงินได้บางประเภท

หลักการวางแผนที่สำคัญข้อหนึ่งที่ผู้เขียนเคยกล่าวไว้ว่า “ที่ใดที่มีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน ที่นั่นมีช่องทางในการวางแผนภาษีเสมอ” ด้วยเหตุที่กฎหมายกำหนดให้เงินได้หลายประเภทที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ไม่จำต้องถูกนำไปรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อเสียเงินได้ตามปกติ(ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป) ดังนั้น ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีอัตราก้าวหน้าในอัตราสูง ๆ เช่น 20% - 37% จึงอาจกำหนดประเภทเงินได้ที่ได้รับ โดยสามารถเลือกเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าได้

เช่น เงินได้ที่ได้รับเป็นเงินปันผล กฎหมายให้สิทธิผู้มีเงินได้ที่จะเลือกเสียภาษีในอัตรา 10% เท่ากับภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย หรือจะเลือกนำเงินปันผลนั้นไปขอเครดิตภาษีเงินปันผล ซึ่งผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลจะต้องเสียภาษีในอัตราต่ำ

โดยหลักก็คือ ถ้าหากเงินได้ของผู้มีเงินได้ที่ได้รับนั้น มีรายได้ทุกชนิดรวมตลอดปีภาษีที่ได้รับนั้นต่ำกว่า 4 ล้านบาท แล้ว ผู้มีเงินได้ทุกคนจะขอคืนภาษีจากการเครดิตภาษีคืนเสมอ หรือกำหนดเงินได้ประเภทดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเกิดจากการลงทุนโดยการฝากเงินหรือซื้อหุ้นกู้ หรือการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ถือหุ้นและคิดดอกเบี้ยในอัตราตลาด ซึ่งในกรณีการให้กู้ยืมนี้นอกจากบริษัทจะหักดอกเบี้ยเป็นรายจ่ายได้แล้ว ผู้มีเงินได้ยังมีสิทธิเลือกเสียภาษีจากดอกเบี้ยที่ได้รับในอัตรา 15% เท่ากับภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายโดยไม่จำเป็นที่จะต้องนำเงินได้นั้นไปรวมเพื่อเสียภาษี

ตามปกติผู้วางแผนจะได้ผลตอบแทน 2 ต่อ ก็คือ หักเป็นรายจ่ายของบริษัทได้และในฐานะเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นก็สามารถได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยซึ่งสูงกว่าอัตราเงินฝากในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี การดำเนินงานดังกล่าวจะต้องระวังไม่ให้การประกอบธุรกิจของกรรมการหรือผู้ถือหุ้นเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% ของรายรับดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม

นอกจากนี้ ยังมีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้โดยมาทางมรดกหรือการให้โดยเสน่หาหรือได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร หากยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ก็ไม่ต้องนำไปรวมเงินได้หรือเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานซึ่งกฎหมายให้หักรายจ่ายได้สูง ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องไปรวมเสียภาษีตอนปลายปี

กรณีศึกษา:

1. การเครดิตภาษีเงินปันผล
ข้อสมมติฐาน: นางสาวพรหล้ามีเงินเดือน เดือนละ 60,000 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เดือนละ 5,000 บาท และได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่เสียภาษีในอัตรา 30% ของกำไรสุทธิ เป็นเงิน 80,000 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 8,000 บาท



จากตัวอย่างข้างต้น หากนางสาวพรหล้าเลือกนำเงินปันผลไปขอเครดิตภาษีเงินปันผลจะได้รับคืนภาษี 18,428 บาท มีภาระภาษีที่ต้องเสียจริง 49,572 บาท และมีเงินสดคงเหลือ 750,428 บาท เปรียบเทียบกับกรณีที่เลือกเสียภาษีจากในอัตรา 10% โดยไม่ขอเครดิตภาษี มีภาระภาษีที่ต้องเสียจริง 66,000 บาท มีเงินสดคงเหลือ 734,000 บาท ดังนั้น บริษัทธุรกิจครอบครัวอาจวางแผนโดยจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ หรือบางคนก็กระจายหน่วบภาษี (ทั้งบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล) ในการกระจายสิทธิรับเงินปันผลเพื่อใช้สิทธิเครดิตเงินปันผลก็ย่อมทำได้


7. กำหนดประเภทเงินได้ที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ผู้วางแผนภาษีควรกำหนดเงินได้ที่ได้รับนั้น ให้อยู่ในเงินได้ประเภทที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือถ้าหักก็หักในอัตราต่ำ เพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ธุรกิจหรือผู้มีเงินได้ และไม่ต้องไปขอคืนภาษีซึ่งอาจจะถูกตรวจสอบภาษีได้

กรณีศึกษา:

1. การกำหนดความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาจ้างทำของ ซึ่งถ้าหากเป็นสัญญาจ้างทำของต้องถูกหักภาษีในอัตรา 3% และยังมีภาระต้องติดอากรแสตมป์ด้วยในอัตรา 0.1% ของค่าจ้างทั้งหมดตามสัญญา แต่หากเป็นสัญญาซื้อขาย ค่าซื้อขายจะไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และสัญญาซื้อขายไม่ต้องติดอากรแสตมป์ การกำหนดทำสัญญาซื้อขายกับสัญญาจ้างนั้น เป็นการเปลี่ยนประเภทเงินได้จากเงินได้ซื้อขายกับค่าจ้างนั้นสามารถกระทำได้ ถ้าหากคู่สัญญาได้มีการวางแผนอย่างรอบคอบ

2. กรณีที่การจ่ายค่าเช่ารถโดยมีคนขับกับทำสัญญารับค่าขนส่งคนโดยสาร ก็มีความแตกต่างของการหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าเช่ารถต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% แต่กับค่าขนส่งหัก 1% รวมทั้งยังได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเรื่องของการกำหนดประเภทเงินได้ให้เหมาะสมและถูกต้องโดยการทำสัญญาและความเป็นจริงทางธุรกิจ


8. กำหนดผลประโยชน์ที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน
โดยปกติผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นแม้จะไม่ใช่ตัวเงินที่ผู้มีเงินได้ได้รับมากโดยตรงแต่ตามหลักถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เช่น การให้สวัสดิการแก่พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ค่าพาหนะ ค่ารักษาพยาบาล เครื่องแบบพนักงาน หรือการจัดงานปีใหม่ การจัดรถรับส่งพนักงาน การจัดรถผู้บริหาร หรือการให้ส่วนลดแก่พนักงาน การให้ทุนหรือแม้แต่การให้หุ้นแก่พนักงาน เป็นต้น แต่ในบางครั้งการกำหนดผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ตัวเงินอาจเข้าลักษณะที่เป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ เช่น เครื่องแบบไม่เกิน 2 ชุด ต่อปี เบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้างที่นายจ้างจ่ายให้ เป็นต้น ซึ่งการให้สิ่งเหล่านี้ต้องไปพิจารณาว่าประเภทใดที่ต้องเป็นเงินได้ ประเภทใดเป็นเงินได้ทีได้รับยกเว้น ประเภทใดเป็นเงินได้ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และที่สำคัญที่สุดเมื่อบริษัทจ่ายไปแล้วควรต้องหักเป็นรายจ่ายได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ควรต้องให้ความสำคัญกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายด้วย


9. การตั้งหน่วยภาษีขึ้นใหม่

เนื่องจากการประหยัดภาษีนั้น ผู้เสียภาษีก็ต้องคำนวณว่าตนเองมีรายได้เท่าใด มีรายจ่ายเท่าใด อัตราภาษีเท่าใด การพิจารณาตั้งหน่วยภาษีใหม่ไม่ว่าจะเป็นในฐานะคณะบุคคลหรือบริษัทก็อาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งซึ่งใช้ในการวางแผนภาษี เนื่องจากการที่กระจายหน่วยภาษีหลาย ๆ หน่วยนั้น ย่อมเป็นการกระจายภาระภาษีเงินได้และจะทำให้เสียภาษีในอัตราต่ำ นอกจากนี้ ผู้มีเงินได้อาจจะแก้ปัญหาเรื่องของการจัดทำเอกสาร ใบเสร็จรับเงินต่าง ๆ ที่บริษัทไม่สามารถทำธุรกิจกับผู้ค้าบางอย่าง อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้มีเงินได้มีรายได้มากในขณะเดียวกันก็มีรายจ่ายที่สูงพอสมควร การพิจารณาจัดตั้งบริษัทให้เป็นหน่วยภาษีและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็จะมีประโยชน์เช่นเดียวกัน ที่สำคัญคือ ต้องระมัดระวังว่า การตั้งคณะบุคคลหรือการกระจายหน่วยภาษีจะต้องเป็นไปตามหลักนิติกรรมสัญญา มีความแท้จริงมีสาระสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance over the Form) ไม่ใช่เพียงแค่จัดตั้งคณะบุคคลอย่างเดียว หากเป็นเงินได้จากการบริการก็ต้องมีการให้บริการอย่างแท้จริง และมีหลักฐานสนับสนุนที่สามารถพิสูจน์ถึงการให้บริการหรือการลงทุนได้

กรณีศึกษา:

หลักฐานการรับเงินหรือใบเสร็จ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบกิจการในรูปแบบบริษัทให้ความสำคัญเนื่องจากหากปราศจากสิ่งดังกล่าว อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถนำรายจ่ายนั้นมาหักในการคำนวณภาษีได้ ทำให้เสียภาษีเพิ่มเติมทั้ง ๆ ที่เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทและมีการจ่ายเงินออกไปจริง ผู้เสียภาษีจึงอาจพิจารณาจัดตั้งหน่วยคณะบุคคล หรือเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ แล้วให้คณะบุคคลเป็นผู้ซื้อสินค้าจากคู่ค้าที่ไม่มีหลักฐานการรับเงิน และนำสินค้ามาขายต่อให้กับบริษัทในอัตรากำไรที่มีความเหมาะสม โดยมีการออกใบเสร็จให้ถูกต้อง แม้ว่าคณะบุคคลจะไม่มีใบเสร็จจากคู่ค้า แต่คณะบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายในอัตราเหมาได้ตามกฎหมาย แต่การมีคณะบุคคลหลายคณะบุคคลมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาว่า คณะบุคคลดังกล่าวเป็นหน่วยภาษีจริงหรือตั้งเพื่อหนีภาษี ดังนั้น หลักสาระสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance over the Form) ในการวางแผนภาษีอากรจึงมีความสำคัญ


10. ภาษีแต่งงาน กรณีมีคู่สมรส ให้แยกยื่น
ต้องยอมรับว่าประมวลรัษฎากรของไทยนั้น กำหนดเงินได้ให้นำเงินได้ไปรวมหรือแยกเพื่อเสียภาษีสำหรับคู่สมรส หากเป็นเงินได้ 40 (1) และ (2) โดยการรวมหรือแยกยื่นนั้น ภาระภาษีก็จะต่างกัน ผู้เขียนคิดว่า ถ้าคู่สมรสมีเงินได้หลายประเภท การยื่นเสียภาษีเงินได้จากการเป็นคู่สมรส ก็ควรจะแยกยื่นจะดีกว่า เพราะสามารถหักค่าลดหย่อน หักค่าใช้จ่าย

นอกจากนี้ ในกรณีที่ภรรยามีรายได้อย่างอื่นนอกจากเงินได้จากมาตรา 40 (1) (2) เช่น มีเงินได้จากการให้บริการ เป็นเงินได้จากการแสดงภาพยนตร์ เป็นเงินได้จากการลงทุนอื่น ๆ แล้ว กฎหมายให้นำเงินได้ประเภทอื่น ๆ นำมารวมเป็นเงินได้ของสามีเพิ่มเติม ดังนั้น ถ้าหากสามีต้องเสียภาษีในอัตราสูงอยู่แล้ว การนำเงินได้ของภรรยามารวม ก็จะทำให้เงินได้นั้นอยู่ในอัตราสูง ไม่ว่าจะแยกหรือรวมยื่นอีกต่อไป ดังนั้น หากภรรยามีเงินได้สูงกว่าสามีก็มีเป็นจำนวนมาก ตามกฎหมายจึงไม่สามารถลดภาระภาษีได้ เว้นแต่ว่าภรรยาและสามีนั้นจะสามารถโอนเงินได้เข้าเป็นรูปของนิติบุคคลหรือบริษัทซึ่งจะทำให้ภาระภาษีลดน้อยลงได้ ถ้าหากเปรียบเทียบกรณีศึกษา ก็จะดูได้ว่า ยกตัวอย่างเช่นมีถ้าหากมีภรรยาเป็นดารา ถ้ารู้จักการวางแผนภาษีก็สามารถนำไปนำไปหักภาษีลงไปได้ และภาษีเงินได้ของภรรยาก็ไม่ต้องนำมารวมเป็นเงินได้อย่างอื่น ทำให้ในอัตราสูงมาก ก็อาจเลือกการตั้งบริษัทเป็นหน่วยภาษีรับรายได้แทน


บทสรุป

กลยุทธ์ 10 ประการเบื้องต้นนั้น เพื่อใช้เป็นข้อคิดเบื้องต้นสำหรับผู้อ่านที่จะนำไปต่อยอด ผู้เขียนมีความเห็นว่าหากผู้อ่านมีโอกาสได้ศึกษาถึงรายละเอียดของละเรื่องก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อตัวผู้อ่านเองในการวางแผนภาษีทางธุรกิจต่อไป โดยผู้อ่านควรหาหนังสือเกี่ยวกับการวางแผนภาษีอากรมาอ่าน
(ซึ่งปัจจุบันมีมากหลายเล่ม รวมทั้งหนังสือเล่มใหม่ที่ผู้เขียนกำลังปรับปรุงและจัดพิมพ์อยู่) เพื่อพัฒนา
องค์ความรู้ให้ดีต่อไป การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับการวางแผนทางการเงินเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก และผู้มีเงินได้ต้องให้ความสนใจ

จากคอลัมน์ Tax Planning โดย กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ นิตยสาร M&W เมษายน 2552

กลยุทธ์ 10 ประการในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา



ในหนังสือพ่อรวยสอนลูกมีตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “คนรวยเสียภาษีน้อย คนจนเสียภาษีมาก” ผู้เขียนเห็นว่าเรื่องนี้มีมูลความจริงเพราะว่าผู้ที่รู้จักการวางแผนภาษีก็คือ คนที่มีเงิน จึงสามารถหาทางที่จะลดภาระภาษีของตนเองลงได้ ในการลดภาระภาษีของตนเองลงนั้น ผู้อ่านสามารถทำได้โดยการซื้อหนังสือมาศึกษาหรือเข้าฟังอบรมและนำมาวางแผนภาษี แต่ผู้เขียนเห็นว่าการจ้างผู้เชี่ยวชาญทางภาษีเพื่อช่วยในการวางแผนภาษีให้จะเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะผู้มีเงินได้เพียงพอที่จะนำมาจ้างที่ปรึกษา

การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้วางแผนภาษีจะต้องเข้าใจเสียก่อนว่าตนจะได้รับเงินได้ประเภทใดจากที่ไหนและจากผู้ใด อีกทั้งต้องรู้ว่าเงินได้แต่ละประเภทนั้น สามารถจะหักค่าใช้จ่าย ค่าหักลดหย่อน ในอัตราเท่าใด และหากจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องหักจากเงินได้ประเภทใดและอัตราเท่าใด บุคคลที่จะรู้จักการวางแผนภาษีอากรสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น อาจกล่าวโดยสรุปง่าย ๆ ผู้มีเงินได้ต้องรู้ว่า (1) ตนเองมีรายได้เท่าใด (2) เป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่ เท่าใด และ(3) รายได้ใดที่ต้องเสียภาษี หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนในอัตราอย่างไร

แม้ว่ากฎหมายจะแบ่งประเภทเงินได้เป็น 8 ประเภท แต่หากจะแบ่งเป็นประเภทเงินได้เสียใหม่ อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (1) เงินได้จากการทำงาน (2) เงินได้จากการประกอบธุรกิจ และ(3) เงินได้จากการลงทุน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเงินได้เหล่านั้น มีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน ดังนั้น หากผู้อ่านจะใช้บทความนี้ในการศึกษาหรือเป็นข้อคิดเบื้องต้นในการวางแผนภาษีเงินได้ก็น่าจะไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด



กลยุทธ์การวางแผนภาษี
ก่อนที่ผู้เขียนจะได้อธิบายถึงกลยุทธ์การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการเฉพาะ ผู้เขียนคิดว่าผู้อ่านควรจะทราบถึงหลักทั่วไปของกลยุทธ์การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ผู้เขียนแบ่งได้เป็น10 กลยุทธ์ด้วยกัน ดังต่อไปนี้

1. การเลือกใช้เกณฑ์เงินสดและการเลื่อนเวลาการจ่ายเงิน

ภาระภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดานั้น กฎหมายกำหนดให้ใช้ “เกณฑ์เงินสด” ซึ่งต่างจากการเสียภาษีเงินได้ของบริษัทซึ่งใช้ “เกณฑ์สิทธิ” การใช้เกณฑ์เงินสดหมายความว่า ผู้เสียภาษียังไม่ต้องเสียภาษีหากยังไม่ได้รับเงินมาจริง ๆ ในบางกรณีบริษัทผู้จ่ายเงินสามารถนำเงินที่จะต้องจ่ายมาหักเป็นรายจ่ายได้เลยแม้จะยังไม่มีการจ่ายเงินจริงตามหลักเกณฑ์สิทธิ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทจะต้องจ่ายเงินได้ ทำเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับผู้ถือหุ้น บริษัทสามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เมื่อค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้นแล้วแม้จะยังไม่ได้มีการจ่ายจริง แต่ในขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นก็ยังไม่ต้องเสียภาษีจนกว่าจะได้รับเงินนั้นมาจริง ๆ ตามหลักเกณฑ์เงินสด หรือกรณีมีที่ดินให้บริษัทเช่า (ซึ่งอาจเป็นบริษัทครอบครัว) บริษัทสามารถหักค่าใช้จ่ายค่าเช่าได้ แต่ผู้ให้เช่ายังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้หากยังไม่ได้รับค่าเช่า

กรณีศึกษา:
- กรณีผู้รับเงินรู้ว่า ตนเองจะมีรายได้ในปีนี้เกิดขึ้นเท่าใด และคาดว่าจะมีรายได้ในปีหน้าเท่าใด การวางแผนภาษีโดยเกณฑ์เงินสดก็คือ การเลื่อนกำหนดเวลาการรับเงินออกไป ก็จะสามารถลดภาระภาษีได้ เช่น แทนที่จะได้รับเงินได้ในสิ้นปีนี้เนื่องจากมีเงินได้เป็นจำนวนมาก ก็เลื่อนไปรับเงินในต้นปีถัดไป ซึ่งจะทำให้ภาระภาษีลดน้อยลงหากในปีถัดไปคาดว่าจะมีเงินได้น้อยกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของธุรกิจครอบครัวสามารถที่จะควบคุมการรับจ่ายเงินของตนเองได้ สามารถใช้เกณฑ์เงินสดในการวางแผนภาษีหรือกำหนดภาระภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของดอกเบี้ย ค่าเช่า หรือค่าจ้าง

- การใช้เกณฑ์เงินสดในการยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพราะระยะเวลาการนำส่งมีความแตกต่างกัน เช่น หากผู้จ่ายเงินมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เงินได้ตามมาตรา 40(1) และ 40(2) เช่น ค่าจ้างแล้ว นายจ้างผู้จ่ายเงินก็มีหน้าที่ต้องนำส่งในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ในกรณีที่บริษัทนายจ้างต้องมีการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเงินโบนัสแก่พนักงานที่มีจำนวนมากมายหลายร้อยคน การเลื่อนกำหนดการจ่ายเงินออกไปเพียง 1 วัน สามารถช่วยให้ภาระการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย เลื่อนออกไปได้ เช่น บริษัทจ่ายเงินเดือนในวันที่ 31 มกราคม ภาระการนำส่งภาษี ณ ที่จ่าย คือ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ หากบริษัทเลื่อนการจ่ายเงินเดือนไปในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ บริษัทจะสามารถเลื่อนภาระการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกไปเป็นวันที่ 7 มีนาคม เท่ากับมีระยะเวลาที่ต่างกันเกือบ 40 วัน ถ้าหากเป็นเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรามาก บริษัทนายจ้างที่รู้หลักการวางแผนภาษี ก็สามารถนำเงินดังกล่าวไปหมุนเวียนใช้ในกิจการอย่างอื่นได้ก่อน ซึ่งหากเป็นช่วงที่ดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในอัตราสูง การรู้จักการบริหารการเงินย่อมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง


2. กำหนดเงินได้ที่ได้รับเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายการรู้ว่าเงินได้ประเภทใดได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมเสียภาษีจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ในการวางแผนภาษีของตนเองได้ แต่ผู้ที่มีเงินได้ควรต้องรู้ก่อนว่ามีความเป็นไปได้เพียงใดที่จะกำหนดเงินได้ของตนเอง ให้เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี

เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 42 ของประมวลรัษฎากร เงินได้ที่สำคัญที่กรรมการหรือเจ้าของกิจการหรือลูกจ้างจะสามารถประหยัด ไม่ต้องนำมารวมเพื่อเสียภาษี เช่น เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยในการลงทุนของดอกเบี้ยสลากออกสิน การฝากประจำประเภทออมทรัพย์หรือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทรัพย์มรดก หรือการขาย สังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้ได้มาโดยการมุ่งค้ากำไร หรือกำหนดเงินได้ให้เป็นการจัดอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากมรดกหรือการให้โดยเสน่หาตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมและประเพณีซึ่งจะต้องกำหนดให้ถูกต้องและเหมาะสม เงินได้จากส่วนแบ่งกำไรของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ต้องเสียภาษีไปแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีเงินได้ที่กำหนดให้ยกเว้นไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 126 อีกกว่า 78 ประเภท เช่น เงินได้จากการขายกองทุนรวม เงินประโยชน์ที่ผู้ประกันตนได้จากการประกันสังคม เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เงินได้จากธุรกิจการศึกษา เงินได้จากค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย ซึ่งเงินได้เหล่านี้เป็นเงินได้ที่มีความสัมพันธ์อย่างยิ่งในการกำหนดและวางแผนเงินได้ที่ตนจะได้รับอยู่ในประเภทดังกล่าว นอกจากนี้ อาจจะมีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้ตามกฎหมายอื่น ๆ ด้วย เช่น เงินได้ที่เป็นเงินปันผลจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พรบ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เป็นต้น

3. การเลือกใช้การหักค่าใช้จ่ายแบบหักเหมาตามประเภทเงินได้

ผู้มีเงินได้ต้องทราบว่าเงินได้ประเภทใด กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ในอัตราใดตามกฎหมาย เช่น เงินได้ที่ได้ตามมาตรา 40(8) ซึ่งเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ กฎหมายก็ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 11 นอกจากนี้ยังมีเงินได้ประเภทอื่น ๆ เช่น เงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) ที่สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้เช่นกัน การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมานี้มีข้อดีคือ ผู้เสียภาษีไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่ามีรายจ่ายจริงเท่ากับอัตราเหมาที่กำหนดตามกฎหมายหรือไม่ แต่กฎหมายก็ให้หักเหมาได้แม้จะมากกว่ารายจ่ายจริงก็ตาม วิธีการนี้ก็จะช่วยให้ผู้มีเงินได้และประกอบธุรกิจ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการหักรายจ่ายเพราะคู่ค้าไม่มีเอกสารทางบัญชีมาหักเป็นรายได้จ่ายได้ตามกฎหมาย ก็อาจต้องพิจารณาเลือกองค์กรธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาแทนที่จะเป็นรูปบริษัท อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ไม่ตัดสิทธิให้ผู้มีเงินได้ที่จะหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง หากสามารถแสดงหลักฐานทางบัญชีมาหักได้โดยความจริงแล้วอาจพิจารณาตั้งเป็นบริษัทก็จะดีกว่าเพราะอัตราภาษีเบื้องต้นอาจจะต่ำกว่า

4. การหักค่าลดหย่อนตามกฎหมาย
การหักค่าลดหย่อนตามกฎหมายนั้น เป็นสิ่งที่ผู้วางแผนภาษีอากรควรต้องใช้ประโยชน์ให้สูงสุดในแง่ของการหักออกจากเงินได้และผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนดังกล่าว ปัจจุบันผู้มีเงินได้สามารถหักค่าลดหย่อน เช่น

- ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเพื่อการเกษียณอายุ (RMF) ซึ่งหักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
(แต่เฉพาะผู้มีเงินได้ในปี 2552 สามารถหักค่าซื้อ RMF และ LTF ได้ถึงกองทุนละ 700,000 บาท รวมสูงถึง 1,400,000 บาท เพราะเป็นเรื่องที่รัฐบาลมุ่งให้การส่งเสริมเฉพาะกิจ)
- ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน หักเงินได้ 100,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตหักได้ 100,000 บาท
- การหักค่าลดหย่อนจากเงินบริจาคเพื่อกุศลสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 615 แห่ง ซึ่งหักได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว นอกจากจะได้ทำบุญช่วยเหลือสังคมแล้ว บางครั้งการบริจาคเงินดังกล่าวอาจมีของตอบแทนเป็นพระเครื่องหรือของสะสมบางอย่างหรือรูปภาษีที่อาจมีมูลค่าในอนาคตได้หรือสิทธิส่วนลดในการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลชั้นดีของรัฐบาล การหักค่าลดหย่อนที่กล่าวมานั้น นอกจากผู้มีเงินได้จะประหยัดเงินภาษีในแต่ละปีภาษีแล้ว เมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคต เงินได้ดังกล่าวก็จะได้รับและที่ได้รับยกเว้นภาษีจากเงินดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งเช่นกัน เช่น เมื่อได้รับเงินประกันชีวิตคืนเมื่อครบอายุ เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุน RMF และ LTF เมื่อครบกำหนดเงื่อนไขตามกฎหมาย

กรณีศึกษา:

ขอให้ลองเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ใช้ประโยชน์ทางภาษีจากการหักค่าลดหย่อนประเภทต่าง ๆ กับผู้ที่มิได้ใช้ประโยชน์โดยคำนวณจากรายรับประเภทเงินเดือน ท่านจะเห็นความแตกต่างจากตารางด้านล่างนี้



ท่านจะเห็นว่า ใน 1 ปี ท่านสามารถประหยัดภาษีได้ถึง 276,000 บาท ท่านลองคิดดูว่าหากท่านสามารถประหยัดภาษีไปจนกระทั่งท่านเกษียณอายุ เช่น 20 ปี จะสามารถประหยัดภาษีได้ถึง 5,520,000 บาท ซึ่งมิใช่เงินจำนวนน้อยเลยทีเดียว ทั้งนี้ ยังไม่รวมผลตอบแทนจากมูลค่าการลงทุนอีกส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงกับความเปลี่ยนแปลงของมูลค่ากองทุนได้ เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง จึงอาจลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ได้ ผู้สนใจควรปรึกษาที่ปรึกษาทางด้านการวางแผนการเงิน ซึ่งปัจจุบันได้มีสมาคมนักวางแผนทางการเงินได้จัดหลักสูตรอบรมนั้นแล้ว และมีธนาคารบางแห่งได้ให้บริการเช่นว่านี้

จากคอลัมน์ Tax Planning โดย กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ นิตยสาร M&W มีนาคม 2552

วิธีเยียวยา 7 ประการ สำหรับถุงเงินที่ว่างเปล่า? ของอาร์คัต-มหาเศรษฐีแห่งบาบิโลน



วิธีเยียวยา 7 ประการ สำหรับถุงเงินที่ว่างเปล่า? ของอาร์คัต-มหาเศรษฐีแห่งบาบิโลน ซึ่งบอกเอาไว้และถ้าลองวิเคราะห์ให้ดี จะเห็นสัจธรรมอะไรหลายๆอย่าง

1) เริ่มทำให้ถุงเงินของท่านเพิ่มพูน มีหลักการง่ายๆ ก็คือ การเก็บออม 10 % ของทุกบาทที่หามาได้เสมอ ซึ่งส่งเสริมให้มีวินัยทางการเงินซึ่งหากท่านได้มีโอกาสศึกษาประวัติบุคคลต่างๆแล้วจะพบว่าสเหตุเกิดจากความมีวินัยในตัวเองนี่เอง?

2) ควบคุมการใช้จ่าย ---หัวใจสำคัญของข้อนี้คือ ต้องสามารถแยกแยะให้ออกระหว่างค่าใช้จ่ายจำเป็น และความปรารถนาได้ คนส่วนใหญ่มักจะขาดทักษะในการแยกแยะ 2 สิ่งนี้ และเหมารวมว่ามันคือสิ่งเดียวกัน และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของการพาตัวเองเข้าสู่วังวนของปัญหาทางการเงินเกือบทุกรูปแบบ?

3) จงทำให้ทองคำของท่านทวีคูณขึ้น ---โดยการเรียนรู้การให้ทรัพย์สินทำงานแทน เพราะความมั่งคั่งไม่ได้พิจารณาจากจำนวนเงินที่มีอยู่ในกระเป๋า แต่มันคือ ความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดไหลเข้าอย่างต่อเนื่องต่างหาก ถ้าจะยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คงจะเป็น สามล้อถูกหวย ซึ่งไม่นานนักเงินเป็นสิบๆล้านที่เคยมีก็จะหมดไปหรืออาจจะติดลบมากกว่าเดิม แต่กับผู้ประสบความสำเร็จบางท่านในสังคมเรา อาจจะเคยติดลบมหาศาล หรือเคยมีมากมานับไม่ถ้วน แต่แล้วเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา สิ่งที่เคยมีอาจจะหายไป แต่หลายท่านเหล่านี้ก็กลับสร้างตัวเองกลับขึ้นมาได้ อะไร คือ ความแตกต่างของท่านเหล่านี้กับสามล้อถูกหวย ????

4) ปกป้องทรัพย์สมบัติของท่านจากการสูญเสีย ---โดยศึกษาให้รอบคอบก่อนการลงทุนเสมอ และ ต้องปรึกษาผู้ที่รอบรู้และมีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ แล้วจึงเลือกลงทุนในกิจการที่พิจารณาแล้วเห็นว่าปลอดภัย ตรงนี้เป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ในบ้านเราซึ่งชอบมักง่าย ชอบอะไรที่สำเร็จรูป ไม่ต้องเสียเวลา แต่หารู้ไม่ว่าการที่ปฏิเสธการลงทุนเพื่อการเรียนรู้ ก็คือ จุดเริ่มต้นของการลงทุนเพื่อความหายนะของตัวเอง?

5) จงทำให้เคหสถานของท่านเป็นการลงทุนที่มีผลกำไร --- ตรงนี้นัยที่ซ่อนอยู่น่าจะหมายถึง การที่รู้จักใช้จ่ายเพื่อครอบครัว และเพื่อตัวเองด้วย ไม่ใช่ประหยัดมากจนเป็นตระหนี่ถี่เหนียว หรือมองแต่อนาคตจนละเลยชีวิตในปัจจุบันไปหมดสิ้น เพราะตลอดเส้นทางของชีวิตเราต้องมีความสุขกับชีวิตของเราได้ การรักษาสมดุลระหว่างการทำเพื่อปัจจุบันและเพื่ออนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง?

6)จงประกันรายได้สำหรับอนาคต ---เราไม่มีโอกาสล่วงรู้ได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต แต่เราสามารถเลือกที่จะเตรียมความพร้อมที่จะรองรับมันได้ ไม่ว่าจะเพื่อตัวของเราเองเมื่อยามชรา หรือเพื่อครอบครัวก็ตาม?

7)จงเพิ่มพูนความสามารถในการหาเงิน ---หัวใจหลักในข้อนี้ก็คือ การเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ?


จะเห็นว่าหลักการดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องของการเก็บ 10%    ไม่ได้แนะนำให้เก็บมากจนเบียดเบียนตัวเอง แต่ก็ไม่น้อยจนไม่สร้างวินัยในตัวเองเช่นกัน ครับ



ขอขอบคุณบริษัทบิสคอนส์ พับลิชชิ่ง จำกัด

กว่าจะเป็น KFC




พ่อของเขาเสียชีวิตตอนที่เขาอายุได้เพียงห้าขวบ เขาต้องออกจากโรงเรียนกลางคันขณะอายุ 16 ปี ตอนอายุ 17 ปี เขาแสดงความสามารถพิเศษด้วยการตกงานติดต่อกันถึง 4 ครั้ง
เขาแต่งงานตอนอายุ 18 ปี ปีถัดมาเขาได้เป็นพ่อคน แต่ชีวิตคู่ของเขาก็มีความสุขอยู่ได้ไม่นานนัก อายุ 20 ปี ภรรยาของเขาพาลูกสาวหนีไป เพราะทนใช้ชีวิตกับเขาไม่ได้
ช่วงอายุ 18-22 ปี เขาประกอบอาชีพเป็นคนขายตั๋วรถไฟแล้วก็ล้มเหลว แต่เขาก็ยังต่อสู้กับชีวิตด้วยการหาโอกาสให้ชีวิต แต่ทุกอย่างที่เขาทำก็ไม่วายล้มเหลวเหมือนเดิม เขาสมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพแต่ก็ถูกขับออกมา หันเหมาสมัครเข้าโรงเรียนกฎหมาย แต่ด้วยความสามารถอันเอกอุ เขาถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดี แล้วเขาก็ไปทำงานเป็นพนักงานขายประกัน แน่นอนที่สุด เขาล้มเหลวอีกครั้ง (แล้ว)

แค่เกริ่นมาข้างต้นก็คงไม่ต้องบอกว่า ชายคนนี้ทำอะไรไม่ได้เรื่องเลยสักอย่าง! แต่ก็อย่างว่าแหละ คนเราอะไรมันจะไม่ได้เรื่องไปเสียหมด สิ่งเดียวที่เขาพบว่าเขาทำได้ดีก็คือ การทำอาหาร ดังนั้นเขาจึงไปทำงานเป็นพ่อครัวและคนล้างจานในร้านกาแฟเล็กๆ แห่งหนึ่ง
แต่นั่นก็ไม่ใช่ชีวิตที่ทรงคุณค่าอะไรเลยในความคิดของเขา

ชีวิตที่ร้านกาแฟ เขามีเวลามากมายที่จะนั่งคิดและทำอะไรได้มากพอสมควร แต่เขากลับเลือกใช้เวลานั่งคิดถึงภรรยาและลูกสาวของเขา เขาเพียรพยายามติดต่อภรรยาและอ้อนวอนให้เธอกลับมาใช้ชีวิตร่วมกันอีกครั้ง แต่ได้รับคำปฏิเสธ เขาเปลี่ยนความคิดใหม่ เขาไม่ต้องการภรรยาอีกต่อไป ขอเพียงแต่ได้ลูกสาวกลับคืนมาก็พอ เพราะเขารักและคิดถึงเธอเหลือเกิน
เขาใช้เวลาว่างในร้านกาแฟวางแผนในการนำลูกสาวกลับคืนมาสู่อ้อมอกของตน เขาวางแผนทุกขั้นตอนละเอียดยิบ คำนวณทุกฝีก้าว ในที่สุดแผนการอันแสนยาวนานก็เสร็จสิ้นลงเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ คุณพ่อวัยรุ่นผู้น่าสงสารซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้นอกบ้านหลังเล็กๆ ของภรรยาของเขา เฝ้ามองลูกสาวของเขาเล่นอยู่หน้าบ้าน และเตรียมพร้อมที่จะ ?ลักพาตัวเธอ!?
แล้ววันที่ตั้งใจไว้ก็มาถึง เขาซ่อนตัวอยู่หลังพุ่มไม้อย่างระมัดระวัง แม้จะรู้สึกกังวล ตื่นเต้น และตระหนกอยู่บ้าง แต่นั่นมิอาจเทียบได้กับความรักที่เขามีต่อลูก เขาตัดสินใจที่จะต้องลงมือทำให้สำเร็จ แต่แล้วอนิจจา? วันนั้นลูกสาวของเขาไม่ออกมาเล่นหน้าบ้านเลย
แม้กระทั่งความพยายามในการก่ออาชญากรรม เขาก็ยังล้มเหลว เขารู้สึกเหมือนคนที่พ่ายแพ้ต่อโชคชะตา รู้สึกเหมือนคนไม่มีค่า และเหมือนพระเจ้ากำหนดมาแล้วว่าเขาจะต้องอยู่เพียงลำพังไปตลอดชีวิต
แต่เหมือนปาฏิหาริย์ ในที่สุดเขาก็สามารถโน้มน้าวภรรยาให้กลับมาอยู่ด้วยกันได้ พวกเขาทำงานด้วยกันในร้านกาแฟแห่งนั้น ทำอาหารและล้างจานอยู่จนกระทั่งเขาเกษียณตอนอายุ 65 ปี?

วันแรกของการเกษียณอายุ เขาได้รับเช็คเงินประกันสังคมฉบับแรกของเขา เป็นเงิน 105 ดอลลาร์ (ราวสี่พันบาท) เช็คดังกล่าวเหมือนเป็นตัวแทนของรัฐที่ฝากมาบอกเขาว่า เขาไม่อาจจะดูแลตัวเองได้อีกต่อไปแล้ว ทั้งหมดที่เขาทำได้ก็คือ ใช้ชีวิตอยู่จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตด้วยเงินสนับสนุนจากรัฐบาล
มันไม่ใช่ครั้งแรกที่เขารู้สึกถูกปฏิเสธ ล้มเหลว เสียกำลังใจ และท้อแท้ ชีวิตของเขาได้รับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่งหลังจาก 65 ปีอันยาวนาน เขาบอกกับตัวเองว่าถ้าเขาดูแลตัวเองไม่ได้ ต้องมีชีวิตอยู่โดยให้รัฐบาลดูแล เขาก็ไม่สมควรจะมีชีวิตอีกต่อไป?
เขาตัดสินใจ (อีกแล้ว) ว่า ?จะฆ่าตัวตาย?
เขาหยิบกระดาษหนึ่งแผ่นกับดินสอหนึ่งแท่ง นั่งลงใต้ต้นไม้ในสวนหลังบ้านอย่างสงบ ตั้งใจที่จะเขียนคำสั่งเสียและพินัยกรรม แต่แทนที่จะทำเช่นนั้น กลับเหมือนมีอะไรมาดลใจ เหมือนเป็นครั้งแรกที่ชีวิตเกิดปัญญา เขาเริ่มต้นเขียนสิ่งที่เขาควรจะเป็น ชีวิตที่เขาควรจะมี และสิ่งที่เขาปรารถนาในช่วงชีวิตสุดท้ายที่เหลืออยู่ เขาตกใจมาก เมื่อค้นพบความจริงในชีวิตว่า เขายังไม่เคยทำอะไรสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันกับเขาสักอย่างเลย! (เพิ่งนึกได้)?
เขานั่งครุ่นคิดกับตัวเองอย่างจริงจัง มีบางอย่างที่เขาสามารถทำได้ บางอย่างที่คนที่รอบตัวทำสู้เขาไม่ได้ ใช่! เขารู้วิธีปรุงอาหาร ชีวิตเกือบทั้งหมดของเขาอยู่ที่หน้าเตาร้อนๆ มาตลอด เขาตัดสินใจกับตัวเองอีกครั้ง ในที่สุดเขาเลือกที่จะมีชีวิตอยู่เพื่อทำอะไรสักอย่างในชีวิตให้ประสบความสำเร็จ เขาตั้งใจว่าถ้าเขาจะตาย เขาก็อยากจะตายในแบบที่ได้ลองพยายามเป็นใครสักคน และทำบางสิ่งบางอย่างที่มีค่าด้วยชีวิตที่เหลืออยู่น้อยนิดของเขา
เขาลุกจากเงาไม้ มุ่งหน้าไปยังธนาคารในเมือง เพื่อขอยืมเงินจำนวน 87 ดอลลาร์จากเช็คประกันสังคมฉบับต่อไปของเขา ด้วยเงิน 87 ดอลลาร์นั้น เขาซื้อกล่องเปล่าและไก่จำนวนหนึ่ง จากนั้นเขาก็กลับไปที่บ้านและลงมือทอดไก่ที่ซื้อมาด้วยสูตรพิเศษที่เขาได้คิดค้นขึ้นมาในช่วงหลายปีที่ทำงานที่ร้านกาแฟนั้น เขาเริ่มขายไก่ทอดของเขาตามบ้านต่างๆ ในเมืองคอร์บิน รัฐเคนตั๊กกี้ของเขา

แล้วคนขายไก่ทอดอายุ 65 ปีคนนั้นก็กลายมาเป็นผู้พันฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส ราชาผู้เป็นที่รักของอาณาจักร Kentucky Fried Chicken หรือที่เรารู้จักกันในนาม KFC นั่นเอง
ตอนอายุ 65 ปี เขาเป็นเหมือนอนุสรณ์แห่งความล้มเหลวที่ยังมีชีวิต แต่ในวัย 85 ปี เขาก็กลายเป็นเศรษฐีพันล้านและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก มีผู้คนให้เกียรติเขาทั่วประเทศ?
เรื่องราวชีวิตของผู้พันแซนเดอร์สเป็นอีกบทหนึ่งของเรื่องราวความสำเร็จที่ได้รับคำยกย่องจากผู้คนทั่วโลก แต่ใครจะรู้บ้างว่าหากใต้ต้นไม้วันนั้น ผู้พันแซนเดอร์สได้ทำตามที่เขาตั้งใจไว้แต่แรก ตำนานไก่ทอดสะท้านโลกก็คงจะไม่มีให้เราได้เห็นกัน จริงอย่างที่เขาว่า ความสำเร็จกับความล้มเหลวห่างกันเพียงแค่พลิกฝ่ามือ มันอยู่ที่ว่าคุณเลือกที่จะ ?สู้ต่อ? หรือ ?ยอมแพ้?
สำหรับผู้พันแซนเดอร์ส 65 ปี ของชีวิตที่ล้มเหลว เทียบคุณค่าอะไรไม่ได้เลยกับ 20 ปีแห่งความสำเร็จ

แล้วชีวิตของคุณหละ ล้มเหลวมากพอหรือยัง?

ขอบอบคุณ บริษัทบิสคอนส์ พับลิชชิ่ง จำกัด

หาลูกค้าเรื่องง่ายๆ

การหาลูกค้าสำหรับตัวแทนใหม่นั้นอาจเป็นเรื่องยาก แต่สำหรับตัวแทนรุ่นเก๋านั้น เป็นเรื่องง่ายเสมอ มาดูกันครับเทคนิคที่รุ่นพี่ทำกัน เป็นฝ่ายร...