วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การเลี้ยงลูกในยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำอย่างไร



การเลี้ยงลูกไม่มีรูปแบบตายตัวครับ ลูกใครก็ต้องหาวิธีของแต่ละคน
เด็กมีจุดดีจุดแข็งต่างกัน ต้องนำมาเขย่าให้ตรงกับลูกแต่ละคน

ซึ่งในสังคมที่มีแหล่งข้อมูลมากมากนั้น ดีที่สุดคือการให้ลูกเราสามารถแยกแยะได้ว่า อะไรดี อะไรควร อะไรไม่ควร สิ่งไหนผิด สิ่งไหนถูก

พยายามให้เขาใช้พิจารณาญาณหลาย ๆ อย่าง ถึงจะเป็นเด็ก  ไม่ได้คาดหวังว่าเขาจะมีวิจารณะญาณที่ซับซ้อน แต่ต้องให้เขาเริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆน้อย ใส่ความรัก ความอบอุ่น สร้างค่านิยมที่ถูกต้อง

 สิ่งเหล่านี้เป็นภูมิคุ้มกันให้เขา เมื่อเขาโตขึ้น เป็นลูกที่มึความสมบูรณ์ ในใจ สามารถบริหารจัดการอารมณ์ จิตใจ ตัวเองได้ ต่อให้ข่าวสารมากมายขนาดไหน หรือสถานการณ์แบบไหน เขาก็จะจัดการได้

ทำอย่างไรจะไม่ทะเลาะกับลูก

การทะเลาะวิวาท ความไม่เข้าใจกันระหว่างพ่อ แม่ ลูก เป็นปัญหาปกติ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในครอบครัว ทุกครอบครัวล้วนต้องประสบพบเจอกับปัญหาเหล่านี้ทั้งนั้น ไม่มากก็น้อย แตกต่างกันไปในแต่ละครอบครัว ขึ้นอยู่กับพื้นฐาน การดำเนินชีวิต สภาพอารมณ์ในขณะนั้นๆ ของคนในครอบครัว 

ดังนั้น ต้องเข้าใจว่า “ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เป็นเรื่องปกติ” ที่เกิดขึ้นได้ในครอบครัว ให้ลองคิดดูง่ายๆ ว่า ถ้าเราไม่ใช่ลูกของพ่อแม่ หรือ ถ้าพ่อแม่ไม่ใช่พ่อแม่ของเรา ปัญหานี้จะเกิดขึ้นหรือไม่ อย่าถามหาคนผิด เพราะไม่มีใครผิด ทุกคนมีความรัก ความห่วงใย เป็นพื้นฐาน ปัญหาที่เกิดจากความรัก ความห่วงใย เป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้น เป็นประจำ เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ นั่นหมายถึงว่า ไม่ว่าเราจะอยากให้มันเกิดหรือไม่ มันก็เกิด และจริงๆ ก็คือ มันเกิดขึ้นแล้ว 


การคำนึงหวนให้ถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้ว รังแต่จะทำให้ใจไม่สบาย ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อันใดกับใครเลย ไม่ว่ากับพ่อ แม่ หรือแม้กระทั่งกับเราจะอยู่อย่างไรกับสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ ทำอย่างไรไม่ให้สิ่งที่มันเกิดขึ้นแล้ว มาทำร้ายเรา ทำร้ายครอบครัวของเรา ขึ้นอยู่กับเราแล้ว อยากให้ครอบครัวมีความสุข หรือเต็มไปด้วยปัญหา ขึ้นอยู่กับตัวเราด้วย

 อยากให้หยุดคิด สำรวจถึงสิ่งที่เป็นปัญหาทั้งหมดว่าเกิดจากอะไร พยายามทำความเข้าใจถึงสาเหตุ หากสาเหตุเกิดจากเรา ต้องยินดีว่า พ่อ แม่มีความปรารถนาดี จึงได้ชี้แนะ ซึ่งต้องคำนึงว่า เบื้องหลังของการตำหนิ คือความปรารถนาดี แต่พ่อแม่อาจใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจริงๆ ท่านก็แสดงความรัก ความห่วงใยได้แค่นั้น ลองพิจารณาดูให้ดีว่า ปัญหาเกิดจากการสื่อสารไม่เป็นหรือไม่ อะไรอยู่เบื้องหลังของคำพูด หรือการกระทำนั้นๆ ซึ่งคำตอบที่เป็นความจริงคือ พ่อ แม่ต้องการให้เราเป็นคนดีนั่นเอง ทุกอย่างเกิดจากความรัก


สำหรับครอบครัว ไม่เสียเหลี่ยม หรือน่าละอายเลย หากจะกล่าวคำว่า “ขอโทษ” แล้วเริ่มต้นใหม่ ไม่มีพ่อแม่คนใด มุ่งร้ายต่อลูก เพียงแต่อาจแสดงคำพูด หรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ต้องเข้าใจถึงประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาของท่านด้วย 

พูดกับลูกอย่างไรให้ลูกร่วมมือและยอมทำตาม



พูดกับลูกอย่างไรให้ลูกร่วมมือและยอมทำตาม


หลายท่านคิดว่า แค่ความรักก็เพียงพอ  จะพูดอย่างไรก็ได้ ซึ่งในความจริงแล้ว การสื่อสารกับลูกเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเด็ก เราอาจสร้างบาดแผลตราบาปหรือความปวดร้าวให้แก่เขาโดยไม่รู้ตัว  และนำผลร้ายมาสู่เขาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

บ่อยครั้งไหมที่ท่าน ตะคอกใส่ลูก กระเนะกระแหน และพูดจาดูถูกลูก?บ่อยครั้งไหมที่ท่าน ป้ายความผิด  ทำให้เขาอับอาย กล่าวหา  เยาะเย้ย ถากถาง ข่มขู่ติดสินบน ตราหน้า ทำโทษ และเทศนาพร่ำบ่น เพื่อสอนลูก เพราะคำพูดของพ่อแม่ เปรียบเเหมือนมีดโกน ที่สามารถทำให้เกิดบาดแผลร้ายแรงทางจิดใจหากมิได้ระวังเหตุใดเราถึงทำเช่นนี้   เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ว่า คำพูด  ของตนเองมีอานุภาพที่ทำลายล้างที่ร้ายแรงเพียงใด  เพราะเราขาดความรู้และความเข้าใจ ดังนั้น พ่อแม่ต้องหาวิธีในการพูดจากเพื่อสร้างสัมพันธ์กับลูก

จงยินยอมผ่อนปรนกับความรู้สึกของเด็ก แต่กวดขันหรือเข้มงวดในเรื่องพฤติกรรมของเขา การบ่นและบังคับลูกไม่ได้ก่อประโยชน์อะไร  จะทำให้ลูกโกรธและต่อต้าน  หากเราเข้าใจในมุมมองของเขาให้เขามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ใช้ไม้แข็งเมื่อการจัดการกับพฤติกรรมของเด็ก ใช้ไม้อ่อนกับความรู้สึก ความปรารถนา ความต้องการ และจินตนาการของพวกเขา  เด็กทำตามแรงกระตุ้นภายในของเขา  พ่อแม่คอยช่วยเหลือ  เด็กนั้นต้องมีคำจำกัดความที่ชัดเจนว่าพฤติกรรมใดเป็นสิ่งที่พ่อแม่ยอมรับได้ และรับไม่ได้   เมื่อเด็กรู้ขีดจำกัดตนเองแค่ไหน  เขาจะรู้ว่าเขามีความมั่นคงมากขึ้น

การเลี้ยงลูกที่มีประสิทธิภาพและความรักนั้นพ่อแม่ต้องรู้จักการสื่อสารด้วยความเห็นอกเห็นใจ   การพูดนั้น ต้องเป็นคำพูดที่ปราศจาก ความไม่สนใจไยดี   ปฏิเสธ  วิพากษ์วิจารณ์  ดูถูกดูแคลน  ฉุนฉียวต่อไปนี้เป็นคำแนะนำ ครับ

1.เปิดใจรับฟัง  ฟังความรู้สึกที่ลูกต้องการบอกจากคำพูดของเขา  ว่าลูกรู้สึกและมีปัญหาอะไร  ทำให้ได้เห็นมุมมองและเข้าใจในประเด็นสำคัญที่เด็กต้องการสื่อ  เป็นวิธีพูดที่แสงความเคารพในตัวเด็ก ทำให้เด็กเห็นว่าเราสนใจในคำพูดเขาอย่างจริงจังเช่น เมื่อได้ฟังเขาพูด เช่น  “โอเค แม่เข้าใจแล้ว ขอบใจลูกมาก ที่บอกแม่ว่าลูกรู้สึกอะไรอยู่ แม่ได้รู้ว่านั่นเป็นความคิดเห็นลูก ขอบใจที่บอกแม่นะ “
2.อย่าปฏิเสธความคิดเห็นของลูก อย่าโต้เถียงกับความรู้สึกของเขา อย่าละเลยความปรารถนาของเขา  อย่าหัวเราะเยาะ  รสนิยามของเขา ดูแคลนความาเห็น  อย่าลดคุณค่าในตัวเขา อย่าโต้แย้งกับประสบการณ์ของเขา แต่ให้รับฟัง  เช่น
ถ้าเด็กโอดครวญไม่อยากอาบน้ำเพราะน้ำเย็นมาก   
ผิด: ไม่หรอก ไม่เห็นเย็นเลยสักนิด
ถูก:   ลูกรู้สึกไม่สบาย แถมน้ำก็ดูเย็นมาก ลูกยังไม่อยากอาบน้ำใช่ไหมลูก

3.แทนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ ให้ชี้แนะและกล่าวถึงปัญหาและเสนอหนทางแก้ไข  อย่าพูดอะไรในเชิงลบเกี่ยวกับตัวเด็ก 
ผิด: “ลูกไม่มีความรับผิดชอบเลยนะ  ขี้หลงขี้ลืมเรื่อย ทำไมไม่คืนหนังสือห้องสมุดตรงวันที่กำหนดนะ
ถูก: “ลูกต้องเอาหนังสือไปคืนห้องสมุดนะ มันเลยวันที่กำหนดคืนแล้ว

4.เวลาโกรธ ให้พูดอธิบายสิ่งที่เห็น  ความรู้สึกที่มี  และสิ่งที่คาดหวัง โดยเริ่มต้นประโยคด้วยสรรพนามบุรุษที่หนึ่  เช่น  แม่ โกรธ   แม่หงุดหงิด แม่ตกใจมากเลย  หลีกเลี่ยงคำพูดโจมตีตัวเด็กโดยตรง  เช่น 
ผิด: จะบ้าไปแล้ว ลูกอาจทำให้เพื่อนหัวแตก
ถูก :พ่อโกรธและเสียใจมาก  เราไม่ปาก้อนหินใส่คนนะ  คนไม่ได้มีไว้ให้ทำร้าย

5.จงชมในสิ่งที่เขาทำ อย่างชัดเจน เมื่อคุณต้องการบอกลูกว่าคุณชื่นชมในตัวเขาหรือความพยายามของเขา อย่าพูดเชิงประเมินตัวตนหรือบุคลิกลักษณะของเขา    เช่น 
ผิด:”ลูกทำได้ดีมาก เป็นเด็กที่ทำงานหนัก ลูกเป็นแม่บ้านที่ดีในอนาคต  
ถูก : “ลูกเรียงจานและแก้วเป็นระเบียบมาก ตอนนี้แม่หยิบหาอะไรได้ง่าย ลูกช่วยงานแม่ได้เยอะมาก แม่ขอบใจลูกมากนะ 

6.เรียนรู้การพูดคำว่าไม่ ด้วยวิธีการที่ไม่ทำร้ายจิตใจ โดยยอมให้เด็กได้จินตนาการใสสิ่งที่เราไม่ยอมในโลกความเป็นจริง เพระเด็กยังแยกแยะระหว่างความจำเป็น และสิ่งที่เขาต้องการ     ยอมรับในความปรารถนาของเด็ก  โดยอธิบายว่าคุณเข้าใจความต้องการของเขา เช่น หากลูกต้องการได้รถใหม่
ผิด  ไม่ได้ ลูกก็รู้ว่าเราไม่มีเงินพอที่จะซื้อ
ถูก   โอ พ่ออยากซื้อรถจักรยานให้ลูกจังเลย  พ่อรู้ว่าลูกชอบขึ่รถเที่ยว  แล้วขี่ไปโรงเรียน  มันทำให้ชีวิตลูกสบายขึ้น  แต่ตอนนี้งบประมาณเราไม่พอนะลูก เดี่ยวให้พ่อคุยกับแม่ก่อนนะ ว่าจะซื้อให้ลูกได้หรือไม่   หรือ  พ่อก็อยากจะมีตังส์ ซื้อให้ลูก


7.เปิดโอกาสให้มีทางเลือก  และได้แสดงความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเขา      เช่น  “เวลาเข้านอนของลูกคือระหว่างหนึ่งทุ่มถึงสองทุ่ม ลูกตัดสินใจเอาเองว่าลูกง่วงเมื่อไหร่ ลูกก็เข้านอนเมื่อนั้น

หาลูกค้าเรื่องง่ายๆ

การหาลูกค้าสำหรับตัวแทนใหม่นั้นอาจเป็นเรื่องยาก แต่สำหรับตัวแทนรุ่นเก๋านั้น เป็นเรื่องง่ายเสมอ มาดูกันครับเทคนิคที่รุ่นพี่ทำกัน เป็นฝ่ายร...