วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิธีเยียวยา 7 ประการ สำหรับถุงเงินที่ว่างเปล่า? ของอาร์คัต-มหาเศรษฐีแห่งบาบิโลน



วิธีเยียวยา 7 ประการ สำหรับถุงเงินที่ว่างเปล่า? ของอาร์คัต-มหาเศรษฐีแห่งบาบิโลน ซึ่งบอกเอาไว้และถ้าลองวิเคราะห์ให้ดี จะเห็นสัจธรรมอะไรหลายๆอย่าง

1) เริ่มทำให้ถุงเงินของท่านเพิ่มพูน มีหลักการง่ายๆ ก็คือ การเก็บออม 10 % ของทุกบาทที่หามาได้เสมอ ซึ่งส่งเสริมให้มีวินัยทางการเงินซึ่งหากท่านได้มีโอกาสศึกษาประวัติบุคคลต่างๆแล้วจะพบว่าสเหตุเกิดจากความมีวินัยในตัวเองนี่เอง?

2) ควบคุมการใช้จ่าย ---หัวใจสำคัญของข้อนี้คือ ต้องสามารถแยกแยะให้ออกระหว่างค่าใช้จ่ายจำเป็น และความปรารถนาได้ คนส่วนใหญ่มักจะขาดทักษะในการแยกแยะ 2 สิ่งนี้ และเหมารวมว่ามันคือสิ่งเดียวกัน และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของการพาตัวเองเข้าสู่วังวนของปัญหาทางการเงินเกือบทุกรูปแบบ?

3) จงทำให้ทองคำของท่านทวีคูณขึ้น ---โดยการเรียนรู้การให้ทรัพย์สินทำงานแทน เพราะความมั่งคั่งไม่ได้พิจารณาจากจำนวนเงินที่มีอยู่ในกระเป๋า แต่มันคือ ความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดไหลเข้าอย่างต่อเนื่องต่างหาก ถ้าจะยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คงจะเป็น สามล้อถูกหวย ซึ่งไม่นานนักเงินเป็นสิบๆล้านที่เคยมีก็จะหมดไปหรืออาจจะติดลบมากกว่าเดิม แต่กับผู้ประสบความสำเร็จบางท่านในสังคมเรา อาจจะเคยติดลบมหาศาล หรือเคยมีมากมานับไม่ถ้วน แต่แล้วเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา สิ่งที่เคยมีอาจจะหายไป แต่หลายท่านเหล่านี้ก็กลับสร้างตัวเองกลับขึ้นมาได้ อะไร คือ ความแตกต่างของท่านเหล่านี้กับสามล้อถูกหวย ????

4) ปกป้องทรัพย์สมบัติของท่านจากการสูญเสีย ---โดยศึกษาให้รอบคอบก่อนการลงทุนเสมอ และ ต้องปรึกษาผู้ที่รอบรู้และมีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ แล้วจึงเลือกลงทุนในกิจการที่พิจารณาแล้วเห็นว่าปลอดภัย ตรงนี้เป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ในบ้านเราซึ่งชอบมักง่าย ชอบอะไรที่สำเร็จรูป ไม่ต้องเสียเวลา แต่หารู้ไม่ว่าการที่ปฏิเสธการลงทุนเพื่อการเรียนรู้ ก็คือ จุดเริ่มต้นของการลงทุนเพื่อความหายนะของตัวเอง?

5) จงทำให้เคหสถานของท่านเป็นการลงทุนที่มีผลกำไร --- ตรงนี้นัยที่ซ่อนอยู่น่าจะหมายถึง การที่รู้จักใช้จ่ายเพื่อครอบครัว และเพื่อตัวเองด้วย ไม่ใช่ประหยัดมากจนเป็นตระหนี่ถี่เหนียว หรือมองแต่อนาคตจนละเลยชีวิตในปัจจุบันไปหมดสิ้น เพราะตลอดเส้นทางของชีวิตเราต้องมีความสุขกับชีวิตของเราได้ การรักษาสมดุลระหว่างการทำเพื่อปัจจุบันและเพื่ออนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง?

6)จงประกันรายได้สำหรับอนาคต ---เราไม่มีโอกาสล่วงรู้ได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต แต่เราสามารถเลือกที่จะเตรียมความพร้อมที่จะรองรับมันได้ ไม่ว่าจะเพื่อตัวของเราเองเมื่อยามชรา หรือเพื่อครอบครัวก็ตาม?

7)จงเพิ่มพูนความสามารถในการหาเงิน ---หัวใจหลักในข้อนี้ก็คือ การเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ?


จะเห็นว่าหลักการดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องของการเก็บ 10%    ไม่ได้แนะนำให้เก็บมากจนเบียดเบียนตัวเอง แต่ก็ไม่น้อยจนไม่สร้างวินัยในตัวเองเช่นกัน ครับ



ขอขอบคุณบริษัทบิสคอนส์ พับลิชชิ่ง จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หาลูกค้าเรื่องง่ายๆ

การหาลูกค้าสำหรับตัวแทนใหม่นั้นอาจเป็นเรื่องยาก แต่สำหรับตัวแทนรุ่นเก๋านั้น เป็นเรื่องง่ายเสมอ มาดูกันครับเทคนิคที่รุ่นพี่ทำกัน เป็นฝ่ายร...