วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พูดกับลูกอย่างไรให้ลูกร่วมมือและยอมทำตาม



พูดกับลูกอย่างไรให้ลูกร่วมมือและยอมทำตาม


หลายท่านคิดว่า แค่ความรักก็เพียงพอ  จะพูดอย่างไรก็ได้ ซึ่งในความจริงแล้ว การสื่อสารกับลูกเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเด็ก เราอาจสร้างบาดแผลตราบาปหรือความปวดร้าวให้แก่เขาโดยไม่รู้ตัว  และนำผลร้ายมาสู่เขาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

บ่อยครั้งไหมที่ท่าน ตะคอกใส่ลูก กระเนะกระแหน และพูดจาดูถูกลูก?บ่อยครั้งไหมที่ท่าน ป้ายความผิด  ทำให้เขาอับอาย กล่าวหา  เยาะเย้ย ถากถาง ข่มขู่ติดสินบน ตราหน้า ทำโทษ และเทศนาพร่ำบ่น เพื่อสอนลูก เพราะคำพูดของพ่อแม่ เปรียบเเหมือนมีดโกน ที่สามารถทำให้เกิดบาดแผลร้ายแรงทางจิดใจหากมิได้ระวังเหตุใดเราถึงทำเช่นนี้   เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ว่า คำพูด  ของตนเองมีอานุภาพที่ทำลายล้างที่ร้ายแรงเพียงใด  เพราะเราขาดความรู้และความเข้าใจ ดังนั้น พ่อแม่ต้องหาวิธีในการพูดจากเพื่อสร้างสัมพันธ์กับลูก

จงยินยอมผ่อนปรนกับความรู้สึกของเด็ก แต่กวดขันหรือเข้มงวดในเรื่องพฤติกรรมของเขา การบ่นและบังคับลูกไม่ได้ก่อประโยชน์อะไร  จะทำให้ลูกโกรธและต่อต้าน  หากเราเข้าใจในมุมมองของเขาให้เขามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ใช้ไม้แข็งเมื่อการจัดการกับพฤติกรรมของเด็ก ใช้ไม้อ่อนกับความรู้สึก ความปรารถนา ความต้องการ และจินตนาการของพวกเขา  เด็กทำตามแรงกระตุ้นภายในของเขา  พ่อแม่คอยช่วยเหลือ  เด็กนั้นต้องมีคำจำกัดความที่ชัดเจนว่าพฤติกรรมใดเป็นสิ่งที่พ่อแม่ยอมรับได้ และรับไม่ได้   เมื่อเด็กรู้ขีดจำกัดตนเองแค่ไหน  เขาจะรู้ว่าเขามีความมั่นคงมากขึ้น

การเลี้ยงลูกที่มีประสิทธิภาพและความรักนั้นพ่อแม่ต้องรู้จักการสื่อสารด้วยความเห็นอกเห็นใจ   การพูดนั้น ต้องเป็นคำพูดที่ปราศจาก ความไม่สนใจไยดี   ปฏิเสธ  วิพากษ์วิจารณ์  ดูถูกดูแคลน  ฉุนฉียวต่อไปนี้เป็นคำแนะนำ ครับ

1.เปิดใจรับฟัง  ฟังความรู้สึกที่ลูกต้องการบอกจากคำพูดของเขา  ว่าลูกรู้สึกและมีปัญหาอะไร  ทำให้ได้เห็นมุมมองและเข้าใจในประเด็นสำคัญที่เด็กต้องการสื่อ  เป็นวิธีพูดที่แสงความเคารพในตัวเด็ก ทำให้เด็กเห็นว่าเราสนใจในคำพูดเขาอย่างจริงจังเช่น เมื่อได้ฟังเขาพูด เช่น  “โอเค แม่เข้าใจแล้ว ขอบใจลูกมาก ที่บอกแม่ว่าลูกรู้สึกอะไรอยู่ แม่ได้รู้ว่านั่นเป็นความคิดเห็นลูก ขอบใจที่บอกแม่นะ “
2.อย่าปฏิเสธความคิดเห็นของลูก อย่าโต้เถียงกับความรู้สึกของเขา อย่าละเลยความปรารถนาของเขา  อย่าหัวเราะเยาะ  รสนิยามของเขา ดูแคลนความาเห็น  อย่าลดคุณค่าในตัวเขา อย่าโต้แย้งกับประสบการณ์ของเขา แต่ให้รับฟัง  เช่น
ถ้าเด็กโอดครวญไม่อยากอาบน้ำเพราะน้ำเย็นมาก   
ผิด: ไม่หรอก ไม่เห็นเย็นเลยสักนิด
ถูก:   ลูกรู้สึกไม่สบาย แถมน้ำก็ดูเย็นมาก ลูกยังไม่อยากอาบน้ำใช่ไหมลูก

3.แทนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ ให้ชี้แนะและกล่าวถึงปัญหาและเสนอหนทางแก้ไข  อย่าพูดอะไรในเชิงลบเกี่ยวกับตัวเด็ก 
ผิด: “ลูกไม่มีความรับผิดชอบเลยนะ  ขี้หลงขี้ลืมเรื่อย ทำไมไม่คืนหนังสือห้องสมุดตรงวันที่กำหนดนะ
ถูก: “ลูกต้องเอาหนังสือไปคืนห้องสมุดนะ มันเลยวันที่กำหนดคืนแล้ว

4.เวลาโกรธ ให้พูดอธิบายสิ่งที่เห็น  ความรู้สึกที่มี  และสิ่งที่คาดหวัง โดยเริ่มต้นประโยคด้วยสรรพนามบุรุษที่หนึ่  เช่น  แม่ โกรธ   แม่หงุดหงิด แม่ตกใจมากเลย  หลีกเลี่ยงคำพูดโจมตีตัวเด็กโดยตรง  เช่น 
ผิด: จะบ้าไปแล้ว ลูกอาจทำให้เพื่อนหัวแตก
ถูก :พ่อโกรธและเสียใจมาก  เราไม่ปาก้อนหินใส่คนนะ  คนไม่ได้มีไว้ให้ทำร้าย

5.จงชมในสิ่งที่เขาทำ อย่างชัดเจน เมื่อคุณต้องการบอกลูกว่าคุณชื่นชมในตัวเขาหรือความพยายามของเขา อย่าพูดเชิงประเมินตัวตนหรือบุคลิกลักษณะของเขา    เช่น 
ผิด:”ลูกทำได้ดีมาก เป็นเด็กที่ทำงานหนัก ลูกเป็นแม่บ้านที่ดีในอนาคต  
ถูก : “ลูกเรียงจานและแก้วเป็นระเบียบมาก ตอนนี้แม่หยิบหาอะไรได้ง่าย ลูกช่วยงานแม่ได้เยอะมาก แม่ขอบใจลูกมากนะ 

6.เรียนรู้การพูดคำว่าไม่ ด้วยวิธีการที่ไม่ทำร้ายจิตใจ โดยยอมให้เด็กได้จินตนาการใสสิ่งที่เราไม่ยอมในโลกความเป็นจริง เพระเด็กยังแยกแยะระหว่างความจำเป็น และสิ่งที่เขาต้องการ     ยอมรับในความปรารถนาของเด็ก  โดยอธิบายว่าคุณเข้าใจความต้องการของเขา เช่น หากลูกต้องการได้รถใหม่
ผิด  ไม่ได้ ลูกก็รู้ว่าเราไม่มีเงินพอที่จะซื้อ
ถูก   โอ พ่ออยากซื้อรถจักรยานให้ลูกจังเลย  พ่อรู้ว่าลูกชอบขึ่รถเที่ยว  แล้วขี่ไปโรงเรียน  มันทำให้ชีวิตลูกสบายขึ้น  แต่ตอนนี้งบประมาณเราไม่พอนะลูก เดี่ยวให้พ่อคุยกับแม่ก่อนนะ ว่าจะซื้อให้ลูกได้หรือไม่   หรือ  พ่อก็อยากจะมีตังส์ ซื้อให้ลูก


7.เปิดโอกาสให้มีทางเลือก  และได้แสดงความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเขา      เช่น  “เวลาเข้านอนของลูกคือระหว่างหนึ่งทุ่มถึงสองทุ่ม ลูกตัดสินใจเอาเองว่าลูกง่วงเมื่อไหร่ ลูกก็เข้านอนเมื่อนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หาลูกค้าเรื่องง่ายๆ

การหาลูกค้าสำหรับตัวแทนใหม่นั้นอาจเป็นเรื่องยาก แต่สำหรับตัวแทนรุ่นเก๋านั้น เป็นเรื่องง่ายเสมอ มาดูกันครับเทคนิคที่รุ่นพี่ทำกัน เป็นฝ่ายร...